วันมหาสงกรานต์ ประเทศไทย พ.ศ.2567 (2024)

วันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย พ.ศ.2567 (2024) เป็นวันหยุดราชการ และวันประเภณีไทยดั้งเดิมที่ถูกจัดตั้งขึ้น ระหว่างวันที่ 13–15 เมษายน ของทุกปีประเทศไทย "สงกรานต์" มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า สํกฺรานฺติ แปลตรงตัวว่า "การเปลี่ยนผ่านของดวงดาว" หรือ "การเปลี่ยนแปลง" และ วันสงกรานต์ ยังตรงกับวันปีใหม่พื้นถิ่นในหลายวัฒนธรรมของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ยูเนสโก (UNESCO) ได้จัดประเพณีวันสงกรานต์ประเทศไทยขึ้นทะเบียน เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโลก เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

การคำนวณ

โดยในปัจจุบันปฏิทินในประเทศไทยกำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13–15 เมษายนของทุกปี และเป็นวันหยุดทุกหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาลเป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" (ภาษาเขมร แปลว่า "อยู่ ") และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก"

กิจกรรมในภายในวันประเภณีสงกรานต์ในประเทศไทย

• ทำบุญตักบาตร ถือเป็นประเพณีสร้างบุญกุศลให้ตนเอง และผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือบรรพบุรุษ การทำบุญใน วันสงกรานต์ ถือเป็นฤกษ์ดีให้กับตนเองอีกด้วย
• การรดน้ำ เป็นการอวยพรให้กับผู้หลักผู้ใหญ่ หรือ อวยพรให้กันและกัน เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเอง และคนรอบข้าง รวมไปถึงการรดน้ำให้กับพระสงฆ์ หรือพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิริมงคนกับตนเอง
• ก่อเจดีย์ทราย การ ก่อเจดีย์ทราย คือการนำทรายมาก่อเป็นรูปร่างคล้ายเจดีย์ บางสถานที่จะมีการแข่งขันก่อเจดีย์ทรายอีกด้วย
• ปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายใจในวันปีใหม่ไทย
• การท่องเที่ยวทางทะเล เนื่องจากวันสงกรานต์ ตรงกับฤดูร้อนของประเทศไทย ผู้คนจึงนิยมท่องเที่ยวทางชายทะเลของไทย ไม่ว่าจะเป็นอ่าวไทย อันดามัน รวมไปถึงจะได้พักผ่อนกับครอบครัวช่วงวันหยุดวันสงกรานต์อีกด้วย


 

© NICE THE TRAVEL ALL RIGHTS RESERVED. 2014-2024
All trademarks referenced herein are the properties of their respective owners.