"ข้อมูลจังหวัดกรุงเทพมหานคร"
ชื่อเต็ม กรุงเทพมหานคร :
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์
ไฮไลท์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
• ตลาดนัดสุดสัปดาห์จตุจักร
• ภูเขาทอง
• วัดโพธิ์
• วัดราชนัดดา
• วัดพระแก้ว
กรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกรุงเทพมหานคร ที่เพิ่มขึ้น ในแต่ละปีได้ พิสูจน์ให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เป็นเมือง ยอดนิยม สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งในไทย และ ต่างประเทศ มาโดยตลอด สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็น สถานที่ ทางประวัติศาสตร์ และ สถานที่ทางศาสนา เช่น วัดในกรุงเทพมหานคร ที่มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สวยงาม จิตรกรรมฝาผนัง ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น วัดพระศรีรัตนสมาราม (พระแก้ว) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดอรุณราชวราราม วัดสระเกศ และพระบ่อบรรพต ( ภูเขาทอง ) ,วัดราชนัดดา,วัดไตรมิตร,วัดเบญจมบพิตร,วัดบวรนิเวศวิหารสุทธาสาร,วัดเทพวราราม ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆในกรุงเทพมหานคร เช่น พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ รวมไปถึงศูนย์การค้า ต่างๆ ในกรุงเทพฯ . มีทั้ง สถาน ที่เดินเล่น ซื้อของฝาก เช่น ตลาดนัด จตุจักร , ตลาดสำเพ็ง, เยาวราชและตลาดกลางคืน พาหุรัด และกรุงเทพมหานครยังมี ห้างสรรพสินค้า ชั้นนำมากมายทั่วทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ อีกด้วย เช่นย่าน สยามสแควร์ สถานที่ย่านช้อปปิ้งสตรีทที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สยามสแควร์ ตั้งอยู่กลางกรุงเทพฯ เป็นแลนด์มาร์คแห่งแฟชั่น และ ไลฟ์สไตล์ ของคนรุ่นใหม่ แหล่งรวบรวมสถานการเรียนรู้ และ ความบันเทิง ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ สยามสแควร์ เป็นจุดศูนย์รวมความสร้างสรรค์อันโดดเด่นของกรุงเทพมหานคร ที่สามารถดึงดูดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และยังเป็นแหล่งรวมศูนย์การค้าอย่าง สยามพารากอน (Siam Paragon) มาบุญครอง (MBK Center) เซ็นทรัลเวิลด์ (Central World) และอีกมากมายในย่าน สยามสแควร์ และยังมีโรงแรม ที่พัก อยู่ในย่านนี้ค่อนข้างมากอีกด้วย การเดินทางไปยัง สยามสแควร์ยังสามารถเดินทางไปได้อย่างง่ายดายเนื่องจากจะมีสถานีรถไฟฟ้า BTS ลงบริเวณสยามสแควร์ พอดี ในสถานี สยาม
สยามสแควร์ เป็นสถานที่เปิดโอกาสในการให้ผู้คนได้ค้นหาแรงบันดาลใจ และ การสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ๆ ของคนทุกเพศทุกวัย จึงเกิดธุรกิจไทยมากมายที่ประสบความสำเร็จรวมตัวกัน ณ ที่แห่งนี้ โดยเฉพาะธุรกิจด้านแฟชั่น งานศิลปะ งานดีไซน์
SIAM SQUARE WALKING STREET สถานที่เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆของคนกรุงเทพมหานคร และนักท่องเที่ยว ในบรรยากาศมีชีวิตชีวา และมีสีสันความบันเทิงมากขึ้น ในย่านสยามสแควร์ ซึ่งมี FLAGSHIP STORE ทั้งแบรนด์ไทย และ แบรนด์ต่างประเทศตลอดเส้นทาง ตั้งอยู่ที่คนเดินบนถนนซอย 7 แกนกลาง Walking Street ในทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
ประวัติศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น. และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น จังหวัดพระนคร
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และ ภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพมหานคร
สถานที่สำคัญ กรุงเทพฯ
• พระบรมมหาราชวัง
• ตลาดนัดรถไฟรัชดา
• สยามสแควร์ กรุงเทพฯ
• มิวเซียมสยาม กรุงเทพฯ
• เสาชิงช้า กรุงเทพฯ
• ศาลพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพฯ
• วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวี
• ตลาดน้ำขวัญเรียม กรุงเทพฯ
• สยาม เซอร์เพนทาเรียม
• สยามอะเมซิ่งปาร์ค
• วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
• วัดประยุรวงศ์สวัสดิ์วรวิหาร
• ตลาดพลู กรุงเทพฯ
• จ็อดด์ แฟร์ส กรุงเทพฯ
• นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
• เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์
• วัดสระเกศและภูเขาทอง
• วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
• ตลาดน้ำตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
• ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
• ตลาดน้อย กรุงเทพฯ
• วัดไตรมิตรวิทยาราม
• ถนนคนเดินองอาจ กรุงเทพฯ
• ไชน่าทาวน์ เยาวราช กรุงเทพฯ
• ซีไลฟ์ แบงคอก โอเชี่ยน เวิลด์
• สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
• พิพิธภัณฑ์พัฒน์พงศ์
• Street Art ถนนเจริญกรุง
• เมโทรฟอเรสต์
• ลุงรีฟาร์ม กรุงเทพฯ
การเดินทางในกรุงเทพมหานคร
การเดินทางกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่มีบริการรถสาธารณะ อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง โดยรถ TAXI BTS MRT รถเมลล์ รถตู้สาธารณะ รถตุ๊กๆ (รถสามล้อ) รถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ซึ่งรถสาธารณะนี้สามารถหาได้ทุกจุดในกรุงเทพมหานคร และสะดวกสบายเป็นอย่างมาก โดยอัตราค่าโดยสารรถสาธารณะนี้ก็มีราคาที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ระยะทาง หรือ ความสะดวกสบายในการเดินทางใน กรุงเทพมหานคร ผู้คนส่วนมากนิยมใช้รถไฟฟ้า เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากความรวดเร็ว และ การเดินทางที่สามารถก้าวไปได้ทุกๆจุดในกรุงเทพมหานคร อีกทั้งสามารถต่อรถสาธารณะได้อีกหลากหลาย สายทางในการเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบอัตราค่าโดยสาร หรือระยะทาง รถไฟฟ้าได้ที่ bts.co.th/routemap.html